โครงการจิตอาสาศิลาช่องคอย

วันที่ ๒๑ กุมภาพันธ์ พ.ศ.2567

ข้อมูลสถานที่

ศิลาจารึกหุบเขาช่องคอย ตั้งอยู่บนเทือกเขาบรรทัดอยู่ที่ ม.5 ต.ทุ่งโพธิ์ อ.จุฬาภรณ์ จ.นครศรีธรรมราชซึ่งเป็นบริเวณที่พักระหว่างเส้นทางข้ามคาบสมุทรตอนกลางในโบราณจึงได้ขนานนามว่า “ ศิลาจารึกช่องคอย , ศิลาจารึกหุบเขาช่องคอย” พบเมื่อวันที่ 10กันยายน พ.ศ.2522 โดยนายจรงชูกลิ่น และนายถวิล ช่วยเกิด ซึ่งอาศัยอยู่ในหมู่บ้านคลองท้อน หมู่ที่9 ตำบลทุ่งโพธิ์ อำเภอจุฬาภรณ์ จังหวัดนครศรีธรรมราชได้เดินทางไปในป่าแถบเขาช่องคอยซึ่งอยุ่ห่างจากบ้านโคกสะท้อน ตำบลทุ่งโพธิ์ อำเภอจุฬาภรณ์ ไปทางทิศใต้ประมาณ 2 กิโลเมตร ณ บริเวณหุบเขาช่องคอยนี้เอง บุคคลทั้งสองได้พบแผ่นหินกว้างใหญ่อยู่ใกล้กับร่องน้ำระหว่างหุบเขา ศิลาจารึกหุบเขาช่องคอย เป็นศิลาจารึกที่พบบริเวณหุบเขาช่องคอย อำเภอร่อนพิบูลย์ จังหวัดนครศรีธรรมราชพบเมื่อวันที่ 10กันยายน พ.ศ.2522 โดยนายจรง ชูกลิ่น และนายถวิล ช่วยเกิด ซึ่งอาศัยอยู่ในหมู่บ้านคลองท้อน หมู่ที่9 ตำบลทุ่งโพธิ์ อำเภอจุฬาภรณ์ จังหวัดนครศรีธรรมราชได้เดินทางไปในป่าแถบเขาช่องคอย ซึ่งอยุ่ห่างจากบ้านโคกสะท้อน ตำบลทุ่งโพธิ์ อำเภอจุฬาภรณ์ ไปทางทิศใต้ประมาณ 2 กิโลเมตร ณ บริเวณทุบเขาช่องคอยนี้เอง บุคคลทั้งสอง ได้พบแผ่นหินกว้างใหญ่อยู่ใกล้กับร่องน้ำระหว่างหุบเขา แผ่นหินดังกล่าวมีขนาดกว้าง 1.60 เมตร ยาว 6.83 เมตร หนา 1.20 เมตร บนแผ่นหินมีเส้นเป็นรอยลึกขีดไปมาเป็นรูปอักษร คือ ศิลาจารึกหุบเขาช่องคอยนั่นเอง การค้นพบศิลาจารึกหุบเขาช่องคอย ทำให้ได้ทราบหลักฐานเกี่ยวกับอารยธรรมของกลุ่มชนที่อาศัยอยู่ในบริเวณภาคใต้ โดยเฉพาะในเขตเมืองนครศรีธรรมราชในอดีตกาลจากลักษณะรูปอักษรที่ปรากฎในจารึกประมาณได้ว่าจารึกนั้นสร้างขึ้นในระหว่างพุทธศตวรรษที่ 12 ซึ่งร่วมสมัยกับจารึกวัดมเหยงณ์ จารึกวัดพระมหาธาตุ ฯ จังหวัดนครศรีธรรมราช และจารึกเขาพระนารายณ์ จังหวัดพังงา กลุ่มคนผู้สร้างศิลาจารึกหุบเขาช่องคอยขึ้นนี้ น่าจะเป็นกลุ่มชนที่ใช้ภาษาสันสกฤต นับถือศาสนาพราหมณ์ ลัทธิไศวนิกายและคงจะได้เดินทางเข้ามาพำนักอาศัยในบริเวณนั้นเป็นการชั่วคราว ไม่ใช่กลุ่มชนที่อยู่ประจำถิ่น อีกทั้งยังได้กำหนดสถานที่บริเวณศิลาจารึกหุบเขาช่องคอยนั้นเป็นศิวสถานเพื่อปฏิบัติศาสนกิจตามจารีตของตน พร้อมๆ กันนั้นก็อบรมสั่งสอนให้ผู้อยู่ในสันนิบาตนั้น สำนึกในความเป็นคนต่างถิ่นพลัดบ้านเมืองมาสมควรประพฤติตนเป็นคนดี จะได้พำนักอาศัยอยู่ร่วมในสังคมที่มีขนบธรรมเนียมแตกต่างกันได้อย่างสุขสงบ ดังที่ปรากฎข้อความในจารึดซึ่งกล่าวถึงการเคารพบูชา พระศิวะ พระสวามีแห่งนางวิทยาเทวี พระผู้เป็นเจ้าอันสูงสุดบุคคลใดสรรเสริญองค์พระศิวเทพอย่างเทิดทูลบูชา บุคคลนั้นจะได้รับพรจากพระองค์ไม่ว่าจะไปอยู่ ณ ที่ใดย่อมได้รับการต้อนรับด้วยดีทุกสถาน ลักษณะของศิลาจารึกหุบเขาช่องคอยบ่งชัดว่าเป็นการสร้างขึ้นด้วยกรรมวิธีง่าย ๆ ไม่ประณีตบรรจง ใช้แผ่นศิลาธรรมชาติที่มีอยุ่ในบริเวณหุบเขานั้นเป็นที่จารึกรูปอักษรขึ้น 3 ตอน มีความหมายต่อเนื่องกัน แต่ขนาดของรูปอักษรไม่เท่ากัน ตอนที่ 1 ขนาดของตัวอักษรสูง 25 เซนติเมตร มีอักษรข้อความ 1 บรรทัด ตอนที่ 2 ขนาดของตัวอักษรสูง7 เซนติเมตรมีอักษรข้อความ 4 บรรทัด ตอนที่ 3ขนาดของตัวอักษรเท่ากับตอนที่ 2 แต่มีอักษรข้อความเพียง 2 บรรทัด

ดาวน์โหลดไฟล์

ติดต่อสอบถาม อบต.ทุ่งโพธิ์