เจ้าของภูมิปัญญาท้องถิ่น นางสุจินต์ เกิดศิริ
ความเป็นมา แรงบันดาลใจ
ได้รับความรู้สืบทอดมาจากนางละมัย เกิดศิริ และเรียนรู้เองเพิ่มเติมจากสถานที่ต่าง ๆ ที่มีชื่อเสียง เพื่อนำมาแบ่งขายให้กับเพื่อนบ้าน แล้วขยายวงกว้างไปสู่ตำบลและอำเภออื่น ๆ เป็นการเพิ่มช่องทางหารายได้อีกทางหนึ่งหลังจากการทำไร่ทำสวน
รายละเอียดของภูมิปัญญา
1. การบ่มใบยาสูบ สามารถเก็บใบยาสูบมาแปรรูปเป็นยาเส้นได้ ก็เริ่มเก็บใบยาสูบจากใบตีนยา – กลางยา – ยอดยา มาบ่มสถานที่บ่มใบยาสูบจะต้องบ่นบนฟาก ด้านล่างอากาศต้องระบายได้ดี (ไม่อับ) ด้านข้างต้องทึบ จัดใบยาสูบให้มีลักษณะเหมือนร่องมัน บ่มไว้ 4 – 5 คืน สามารถนำไปฝานเป็นยาเส้นได้
2. การฝานใบยาสูบ
ขั้นตอนในการฝานยา
– การรูดใบยาสูบ เป็นการนำใบยาสูบที่บ่มแล้วมาดึงก้านใบออก
– การม้วนใบยาสูบ ได้แก่ ฝานแบบอุ้มส้น (ใช้มาแต่โบราณ) จะได้เส้นสวย เส้นนุ่มเสมอกัน และในปัจจุบันนิยมฝานแบบจับส้น
3. การตากเส้นยาสูบ
อุปกรณ์ที่ใช้ในการตากยาสูบ ได้แก่ แผงไม้ไผ่ และราวตาก
3.1 การตากแดด (แสงอาทิตย์)
เมื่อฝานใบยาสูบเป็นเส้นแล้วก็จะตากใบยาสูบบนแผงตาก โดยกระจายเส้นยาสูบให้บางเสมอกัน ให้ได้แผงละ 2 พับ ๆ ละ 100 กรัม เมื่อจัดบนแผงตากเสร็จแล้วนำไปวางตากแดดแล้วพลิกด้านล่างไว้ด้านบนเพื่อให้เส้นแห้งสนิมเสมอกัน
3.2 การตากน้ำค้าง
เมื่อตากแดด (แสงอาทิตย์) นุ่มไม่กรอบ จนเส้นยาแห้งดีแล้ว ในช่วงค่ำหรือเวลาใกล้สว่าง จะเอายาสูบที่แห้งสนิทแล้วมาตากน้ำค้างเพื่อให้เส้นยาสูบนุ่มไม่กรอบ หลังตากน้ำค้างประมาณ 1 ชั่วโมง ก็พับเส้นยาสูบในถุงพลาสติกรอจำหน่าย
วัตถุดิบ/อุปกรณ์
1. พันธุ์ยาสูบ
2. แผงตากยา
3. เขอ
4. มีด
5. ม้านั่ง
ตัวอย่างผลิตภัณฑ์